25 ต.ค. 2553

เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  
 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลง
            เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติ บนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
            1.  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
            2.  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
            3.  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
            จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้าน ICT โดยมุ่งให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความพอประมาณ , ความมีเหตุผล , และความจำเป็นจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ดังนี้
            1.  การนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในกิจการของผู้ประกอบการ เพื่อลดต้นทุน ขยาย และเพิ่มส่วนแบ่งตลาด รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์ และให้บริการในการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพให้กับลูกค้า
            2.  การนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหาร และการให้บริการของภาครัฐ โดยให้รัฐจัดตั้งองค์กรกลางระดับชาติร่วมรับผิดชอบการพัฒนา และส่งเสริมการใช้ ICT ในภาครัฐเพื่อให้เกิดบูรณาการ และเอกภาพในระบบข้อมูล การวางแผน การประสานงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดซื้อ    จัดจ้างที่โปร่งใส  ให้ตรงความต้องการ  และลดการซ้ำซ้อนในการลงทุน  เพื่อให้ภาครัฐสามารถรวบรวม แลกเปลี่ยน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ด้วยมาตรฐานเปิด และมีระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงสำหรับการบริหารของหน่วยงานภาครัฐ และการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
            3.  การพัฒนา และการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ใช้ประโยชน์ ICT ในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมการเรียนรู้ที่มีศักยภาพ และวัฒนธรรมอันดีงาม
                ทั้งนี้ เงื่อนไข การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
            1.  เงื่อนไขด้านความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
            2.  เงื่อนไขด้านความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
 อ้างอิงจาก    -  http://www.nesdb.go.th                   
                  -  http://portal.mot.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น