6 ก.พ. 2554

Constructivism is a theory of knowledge (epistemology) [1] that argues that humans generate knowledge and meaning from an interaction between their experiences and their ideas. During infancy, it is an interaction between their experiences and their reflexes or behavior-patterns. Piaget called these systems of knowledge schemata. Constructivism is not a specific pedagogy, although it is often confused with constructionism, an educational theory developed by Seymour Papert, inspired by constructivist and experiential learning ideas of Jean Piaget. Piaget's theory of constructivist learning has had wide ranging impact on learning theories and teaching methods in education and is an underlying theme of many education reform movements. Research support for constructivist teaching techniques has been mixed, with some research supporting these techniques and other research contradicting those results
Constructivism คือทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา) [1] ที่โต้แย้งว่ามนุษย์สร้างความรู้และความหมายจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์และความคิดของพวกเขา ในช่วงวัยทารกก็คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์และ reflexes ของพวกเขาหรือลวดลาย - พฤติกรรม Piaget เรียกว่าระบบเหล่านี้ของ Schemata ความรู้ Constructivism ไม่ได้สอนเฉพาะแม้ว่าจะมักจะสับสนกับ constructionism, ทฤษฎีการศึกษาการพัฒนาโดย Seymour Papert, แรงบันดาลใจจากคอนสตรัคติและความคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Jean Piaget Piaget ทฤษฎีของการเรียนรู้คอนสตรัได้มีผลกระทบตั้งแต่กว้างในการเรียนรู้ทฤษฎีและวิธีการสอนในการศึกษาและเป็นชุดรูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนไหวการปฏิรูปการศึกษาหลาย การสนับสนุนการวิจัยเชิงเทคนิคการสอนคอนสตรัได้รับการผสมกับงานวิจัยที่สนับสนุนเทคนิคเหล่านี้และงานวิจัยอื่น ๆ contradicting ผลลัพธ์เหล่านั้นบางส่วน

25 ต.ค. 2553

หลักธรรมาภิบาล

หลักธรรมาภิบาล “หลักธรรมาภิบาล” หรืออาจเรียกได้ว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หลักธรรมรัฐ และบรรษัทภิบาล ฯลฯ” ซึ่งเรารู้จักกันในนาม “Good Governance” ที่หมายถึง การปกครองที่เป็นธรรม นั้น ไม่ใช่แนวความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม แต่เป็นการสะสมความรู้ที่เป็นวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมวลมนุษย์เป็นพันๆปี ซึ่งเป็นหลักการเพื่อการอยู่ร่วมกันในบ้านเมืองและสังคมอย่างมีความสงบสุข สามารถประสานประโยชน์และคลี่คลายปัญหาข้อขัดแย้งโดยสันติวิธีและพัฒนาสังคมให้มีความยั่งยืน
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล หลักธรรมาภิบาล มีองค์ประกอบที่ส าคัญ 6 ประการดังนี้ 1. หลักนิติธรรม คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม กล่าวโดยสรุป คือ สถาปนาการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่กระท ากันตามอ าเภอใจหรืออ านาจของบุคคล
2. หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริตความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น
3. หลักความโปร่งใส คือ การท าให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการท างานขององค์กรให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และช่วยให้การท างานของภาครัฐและภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น
4. หลักความมีส่วนร่วม คือ การท าให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจส าคัญ ๆ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็น การไต่สวน สาธารณะ การประชาพิจารณ์การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ และขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
5. หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจ า ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออ านวยความสะดวกต่าง ๆ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
6. หลักความคุ้มค่า ผู้บริหาร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจ ากัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจ าเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งจ าเป็นจะต้องตั้งจุดมุ่งหมาย
ไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม

เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  
 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลง
            เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติ บนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
            1.  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
            2.  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
            3.  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
            จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้าน ICT โดยมุ่งให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความพอประมาณ , ความมีเหตุผล , และความจำเป็นจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ดังนี้
            1.  การนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในกิจการของผู้ประกอบการ เพื่อลดต้นทุน ขยาย และเพิ่มส่วนแบ่งตลาด รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์ และให้บริการในการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพให้กับลูกค้า
            2.  การนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหาร และการให้บริการของภาครัฐ โดยให้รัฐจัดตั้งองค์กรกลางระดับชาติร่วมรับผิดชอบการพัฒนา และส่งเสริมการใช้ ICT ในภาครัฐเพื่อให้เกิดบูรณาการ และเอกภาพในระบบข้อมูล การวางแผน การประสานงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดซื้อ    จัดจ้างที่โปร่งใส  ให้ตรงความต้องการ  และลดการซ้ำซ้อนในการลงทุน  เพื่อให้ภาครัฐสามารถรวบรวม แลกเปลี่ยน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ด้วยมาตรฐานเปิด และมีระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงสำหรับการบริหารของหน่วยงานภาครัฐ และการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
            3.  การพัฒนา และการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ใช้ประโยชน์ ICT ในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมการเรียนรู้ที่มีศักยภาพ และวัฒนธรรมอันดีงาม
                ทั้งนี้ เงื่อนไข การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
            1.  เงื่อนไขด้านความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
            2.  เงื่อนไขด้านความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
 อ้างอิงจาก    -  http://www.nesdb.go.th                   
                  -  http://portal.mot.go.th